ธนาคารน้ำใต้ดิน แก้ภัยแล้ง ป้องกันปัญหาน้ำท่วม ด้วยการฝากน้ำไว้กับดิน

152

ธนาคารน้ำใต้ดิน แก้ภัยแล้งป้องกันปัญหาการเกิดน้ำท่วมขัง 

น้ำมีชีวิต มีน้ำที่ไหนมีคนที่นั่น น้ำก็หมดเป็นเหมือนกันถ้ามีแต่ใช้อย่างเดียวไม่หามาเพิ่มมาเติม เพราะฉนั้นเรามาทำการฝากน้ำไว้กับดิน สร้างตาน้ำใหม่ให้มีน้ำใช้ตลอดปีกันเถอะคะ ธนาคารมีไว้ฝากไว้ถอนเงิน ธนาคารน้ำใต้ดินก็คือการฝากน้ำไว้ใต้ดิน เมื่อต้องการใช้ก็ถอนมาใช้ มาดูกันว่าธนาคารน้ำใต้ดินคืออะไร ทำกันแบบไหนถึงจะได้มีน้ำฝากไว้ใต้ดิน

น้ำมีชีวิต คือพระราชดำรัสของพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่9 หรือพ่ออยู่หัวของเรา ท่านเคยตรัสไว้จริงๆนะคะ น้ำมีชีวิตเหมือนกันกับคนเรา มีเกิดมีแห้งมีหมดเป็นเหมือนกัน ถึงแม้ว่าในโลกของเราน้ำจะมีอยู่จำนวนมหาศาลแต่ก็มีวันหมดเป็นเหมือนกัน ถ้าไม่เก็บไม่กักน้ำไว้บ้าง 

ธนาคาร ก็คือสถานที่ฝากถอนหรือทำธุรกรรมต่างๆซึ่งเราๆท่านๆก็ทราบกันดีอยู่แล้ว แต่หลักๆก็มีไว้ใช้ฝาก-ถอนเงิน เมื่อเป็นธนาคารน้ำก็ย่อมหมายถึง การฝากน้ำไว้กับดิน ฝากน้ำที่ยังไม่ได้ใช้ไว้ใต้ดิน เมื่อถึงเวลาที่จำเป็นไม่มีน้ำใช้ก็นำน้ำที่ฝากไว้ขึ้นมาใช้กัน 

ธนาคารน้ำใต้ดิน กับน้ำบาดาล เหมือนกันหรือเปล่านี่คือความสงสัยของคนส่วนใหญ่มักจะถามกัน น้ำบาดาลกับธนาคารน้ำใต้ดิน คือแนวทางเดียวกันคืออยู่ใต้ดินหรือพื้นพิภพเหมือนกัน แต่น้ำบาดาลคือน้ำที่เขาขุดเจาะน้ำบาดาลมาใช้ดื่มใช้กินใช้ประโยชน์กันทั่วไป แต่ธนาคารน้ำใต้ดินคือการนำน้ำไปฝากไว้ใต้ดิน เมื่อต้องการนำมาใช้ก็ทำการเบิกทำการถอนมาใช้ คือช่วงหน้าแล้งก็ต้องทำการนำน้ำใต้ดินที่ฝากไว้กับธนาคารน้ำใต้ดินมาใช้นั่นเอง น้ำบาดาลมีอยู่ทั่วโลก ขุดเจาะมาใช้กันจำนวนมากจนเกิดภัยแล้งขึ้นมาเพราะไม่มีการเติมน้ำหรือเก็บน้ำไว้ในใต้ดินมีแต่ใช้แต่ไม่มีการเพิ่มการเติมก็ต้องหมดไปเป็นธรรมดานะคะ

โดยธรรมชาติแล้วเมื่อมีฝนตกลงมาน้ำก็จะซึมลงไปใต้ดินอยู่แล้ว และเมื่อมีการขุดเจาะน้ำบาดาลมาใช้กันจำนวนมาก ก็จะทำให้น้ำในบาดาลลดน้อยลงเรื่อยๆจนในที่สุดก็จะเกิดภาวะภัยแล้งอย่างยั่งยืนถาวร เพราะฉนั้นวิธีแก้ก็คือเราต้องเติมน้ำลงไปทดแทน หากเรานำน้ำบาดาลจากธรรมชาติมาใช้เราก็ต้องเติมน้ำให้มากกว่าธรรมชาติ ก็คือเราต้องขุดบ่อลงไปเพื่อเติมน้ำหรือฝากน้ำไว้ในดิน 

ธนาคารน้ำใต้ดิน มี2ระบบคือ ระบบปิดและระบบเปิด

ธนาคารน้ำใต้ดินแบบเปิด จะทำเป็นแบบในสวนในไร่ขนาดใหญ่ที่ทำบ่อน้ำขนาดใหญ่แล้วทำธนาคารน้ำในบ่อน้ำ คือการขุดหลุมก้นบ่อลงไปให้ถึงชั้นหินอุ้มน้ำ ประมาณ 3 หลุม น้ำจากหลายแหล่งน้ำไม่ว่าจะเป็นน้ำฝนหรือน้ำที่สูบขึ้นมาใส่บ่อจะไหลลงเก็บอยู่ที่ก้นหลุมหรือชั้นหินอุ้มน้ำ เมื่อน้ำถูกเก็บจนเต็มชั้นหินอุ้มน้ำโยงใยจนเป็นเครือข่ายน้ำจนปริมาณมากพอ น้ำจะเออล้นขึ้นมาเองโดยอัตโนมัติ ทีนี้เราก็สามารถใช้น้ำในบ่อน้ำนี้ได้ตลอดปีโดยไม่ต้องไปสูบน้ำจากแหล่งน้ำอื่นไกลๆอีกต่อไป

ธนาคารน้ำระบบปิด ปกติบ้านน้อยก็ใช้น้ำบาดาลในการทำสวนหรือใช้ในบ้านในสวนอยู่แล้ว แต่พอศึกษาและดูจากโครงการที่ทำธนาคารน้ำใต้ดินก็ลองมาทำที่สวนดู จากปกติน้ำบาดาลที่ใช้อยู่พอถึงหน้าแล้งคือช่วงเมษายน น้ำจะหมด แต่ถ้าเป็นช่วงปกติที่ไม่ใช่หน้าฝน น้ำก็จะเริ่มมาน้อย

บ้านน้อยก็เลยทำธนาคารน้ำระบบปิดคือแบบบ่อเล็ก ขนาด1.20เมตร ปากหลุมกว้าง 80เซนติเมตรหรือ120เมตร ใช้ในสวนดู วัตถุประสงค์หลักในการทำธนาคารน้ำใต้ดิน ก็เหมือนกับทุกพื้นที่ที่เจอกันคะ คือมีน้ำไว้ใช้หน้าแล้ง และป้องกันปัญหาน้ำขังน้ำท่วมคะ วิธีทำไม่ยากคะส่วนวัสดุอุปกรณ์ก็หาจากในบ้านในสวนเรานั่นแหละค่ะ

วัสดุอุปกรณ์ในการทำธนาคารน้ำ

  • ท่อPVC ขนาดประมาณ 2 นิ้ว ยาวประมาณ2 เมตร
  • ล้อรถยนต์เก่า3-4อัน
  • เศษหิน,อิฐที่ทุบทิ้งนำมาใช้ได้
  • ขวดน้ำพลาสติก,ขวดแก้ว
  • ผ้ามุ้งเขียว

ขั้นตอนวิธีการทำ ธนาคารน้ำใต้ดินระบบปิด

  • หาพื้นที่ในสวนที่น้ำชอบขัง หรือพื้นที่ในบ้านตามแนวชายคาบ้านตามแนวที่เป็นจุดรองรับน้ำฝน 
  • ขุดหลุมให้เป็นทรงครก ปากหลุมกว้างก้นหลุมเล็กกว่าเล็กน้อย ลึกประมาณ1.20-1.50เมตร ความกว้างของปากหลุมประมาณ1เมตรหรือ1.20เมตร
  • ก้นหลุมให้ขุดลงอีกกว้างประมาณ20เซนติเมตรลึกประมาณ10เซนติเมตร แล้วใช้ก้อนหินวางจนเต็มหลุม

  • ใช้ยางรถยนต์วางลงไปตั้งให้ตรงเป็นจุดศูนย์กลางของหลุม หลังจากนั้นใส่ท่อพีวีซีลงไปวางบนก้อนหินที่เราถมไว้
  • ขวดน้ำเปล่าให้กรอกน้ำให้เกือบเต็มหรือประมาณ80%ของขวด แล้วใส่ลงไปในหลุมให้เต็ม

  • ใส่เศษหิน,อิฐลงไปทับให้เต็มทั้งนอกและในของยางรถยนต์ ขวดน้ำที่เป็นแก้วก็ใส่ลงไป

  • ใส่ให้จนเต็มบ่อที่ขุดจนถึงปากหลุม ชั้นบนสุดให้ใส่เศษหินทับให้แน่น เสร็จแล้วใช้ผ้ามุ้งเขียวปิดคลุมปากหลุมไว้

  • ปิดปากหลุมด้วยเศษก้อนหินกรวดก้อนเล็กๆปิดทับมุ้งเขียวเก็บมุมเป็นอันเรียบร้อย

ทีนี้เราก็ทดลองใส่น้ำที่เราปั้มขึ้นมาที่จะใช้รดผักรดหญ้าเราใส่ลงไปในบ่อน้ำจะซึมลงไปในบ่อ ปกติถ้าทั่วไปบ่อขนาดนี้ถ้าใส่น้ำปกติก็จะใช้เวลาอยู่ประมาณ20นาทีก็จะเต็มปากบ่อ แต่พอทำเป็นธนาคารน้ำใต้ดินแล้ว ใส่น้ำทดลองดูประมาณ2ชั่วโมงกว่าด้วยซ้ำน้ำถึงจะเต็มบ่อ แสดงว่าการระบายน้ำได้ผลดีมาก่คะ ตอนนี้ก็กลายเป็นว่าเราให้น้ำที่เราต้องปล่อยทิ้งไปเฉยๆ เวลารดผผัก ก็เก็บไว้ในหลุมกักน้ำนี้แทน

ถ้าเราทำในสวนสักประมาณ 4-5 บ่อ ทีนี้เราก็จะมีบ่อที่กักน้ำไว้ในหน้าฝนมากขึ้น ถ้าเราจะขุดบ่อบาดาลก็จะหาน้ำง่ายขึ้นหรือถ้าในพื้นที่ใกล้เคียงร่วมใจกันทำธนาคารน้ำบ้านละบ่อสองบ่อ หมายถึงในสวนใกล้เคียงกันนะคะ ทีนี้ในพื้นที่ที่เราทำการเกษตรก็จะไม่แห้งแล้งในช่วงหน้าแล้งและไม่ท่วมในฤดูฝนอีกต่อไป

ตามทฤษฏีหรือการวิจัยของหน่วยงานที่ทำโครงการธนาคารน้ำ ก็จะกล่าวเป็นทางการว่าการเหวี่ยงน้ำมาใช้โดยอาศัยหลักการหมุนของโลก คือน้ำจากทิศตะวันตกเมื่อแกนโลกหมุนน้ำก็จะไหลมาสู่ทิศตะวันออกทิศเหนือประมาณนั้น บ้านน้อยก็คิดภาษาบ้านๆว่าถ้าเราขุดหลุมให้อยู่ในชั้นหิน แล้วดักทางน้ำไว้ตุนน้ำที่มันไหลมาหรือฝนตกลงมา แทนที่น้ำจะไหลผ่านดินแล้วซึมลงไปเฉยๆแต่กลายเป็นว่าน้ำมาอยู่ในธนาคารน้ำใต้ดินหรือในหลุมกักน้ำที่เราขุดดักไว้ 

น้ำที่อยู่ใต้ดินที่ดันขึ้นมาบวกกับน้ำที่เพิ่มลงไปก็จะกลายเป็นมวลน้ำเดียวกันน้ำที่เพิ่มลงไปก็ดันน้ำที่อยู่ใต้ดินเป็นการเพิ่มปริมาณน้ำที่มีอยู่ใต้ดินให้เพิ่มมากขึ้น ทีนี้เมื่อถึงหน้าแล้งไม่มีน้ำใช้เราก็สามารถนำน้ำที่เราฝากไว้ขึ้นมาใช้ ถ้ามีท่อน้ำบาดาลที่ขุดไว้ใช้อยู่ก่อนแล้วจะสังเกตได้ว่าน้ำในบ่อบาดาลจะมีน้ำใช้ตลอดปี 

จากธนาคารน้ำระบบปิดที่ทำไปบ้านน้อยเห็นว่าใช้งานได้ผลดีคะ บ้านน้อยก็เลยมีความคิดที่จะทำธนาคารน้ำแบบเปิดเพิ่มอีกค่ะ แต่เอาไว้ก่อนเดี๋ยวบ้านน้อยพร้อมเมื่อไหร่จะเก็บเกี่ยวประสบการณ์ความรู้เรื่องธนาคารน้ำใต้ดินระบบเปิดมาฝากกันอีกแน่นอนคะ บ้านน้อยหวังว่าบทความนี้คงเป็นประโยชน์ต่อแฟนๆที่รักทุกท่านที่ติดตามบ้านน้อยนะคะ หากผิดพลาดประการณ์ใดบ้านน้อยก็ขออภัยมาณ.ที่นี้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ ฝากติดตาม Baannoi.com ด้วยนะคะ

Cr.ขอบคุณ บ้านสวนลุงแผน อ.ศรีสงคราม จ.นครพนม